เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10]
  พิมพ์  
อ่าน: 15463 จุดจบของอาชีพนักเขียน
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33635

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 10 มิ.ย. 24, 10:59

ถูกคุณ Superboy ฉุดกลับมาสู่หัวข้อเดิมแล้ว     เดินแยกซอยกันออกไปไกลถึงสาขาแต่งเพลงโน่น
แต่ก่อนจะกลับ ขอเอาคำตอบจากคุณนิติพงษ์ ห่อนาค มาตอบคุณเพ็ญชมพูค่ะ

Nitipong Honark
ทำนองนี่ผมว่า แปดเต็มสิบเลยนะครับ พอๆกับระดับนักแต่งทำนองเพลงทั่วไป ที่ต้องแต่งทำนองจากบทกลอนเลย…..ภาษาไทยมีโน้ตบังคับอยู่ การแต่งทำนองตามให้รื่นหูนั้น เป็นเรื่องยากกว่าแต่งทำนองโดยอิสระ….
แต่ต้องหักคะแนนหน่อย ตรงที่บางจุด เอไอ (หรือคนแต่งทำนองเพลงบางราย) ไม่รู้ หรือละเลย บางคำโน้ตสูงต่ำไม่ตรงคำ ทำให้เหน่อๆ เหมือนเป็นสำเนียงมอญ ลองฟังดูสิครับ ว่า “มอญ“ ตรงไหนบ้าง

ดิฉันไม่เก่งเรื่องโน้ต  เลยจับไม่ได้ว่าเหน่อ แต่คุณดี้ท่านจับได้ค่ะ  แสดงว่า AI ยังแต่งเพลงได้ไม่ถึงขั้นได้รางวัลออสคาร์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33635

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 12 มิ.ย. 24, 12:02

      กลับมาที่ AI
     เราคงจะปฏิเสธการทำงานของ AI ไม่ได้ว่ามันมีผลต่อการสร้างสรรค์ศิลปะประเภทต่างๆของมนุษย์อยู่มาก    พูดง่ายๆคือกลายเป็นเครื่องทุ่นแรงผู้ผลิตและ/หรือ ผู้จำหน่ายงานเหล่านี้
     ถ้าหากว่าสำนักพิมพ์ป้อนพล็อตและข้อมูลที่จำเป็นเช่นชื่อตัวละคร สถานที่  ฯลฯ เข้าไปให้ AI แต่งเรื่องขนาดสั้น  มันก็ทำได้  อาจไม่ดีขนาดได้รางวัลโนเบล  แต่ถ้าถามว่าขายได้ไหม  คำตอบคือได้แน่นอน 
    ก็หมายความว่าเค้กงานเขียนที่เมื่อเดิมมนุษย์อาชีพนักเขียนแบ่งกัน   จะมีนักเขียน AI  มาแบ่งส่วนไปกินด้วย  ขยับพื้นที่มากขึ้นทุกที เนื้อที่ให้มนุษย์ก็จะน้อยลงทุกทีเช่นกัน
    เมื่อก่อน  มีโอกาสไปร้านหนังสือใหญ่ๆ เมื่อไหร่  จะมองหาหนังสือ How to Write....นิยายวิทยาศาสตร์   นิยายสร้างสรรค์  นิยายฯลฯ ซื้อกลับมาอ่าน เพิ่มพูนรอยหยักในสมอง 
     วันนี้ประหยัดเงินไปได้เยอะ   เพราะเขียนไปถามร่างจำแลงของนักเขียนดังๆใน https://deepai.org/characters ได้ค่ะ  เชื่อไหม บางคน(หรือบางตัว)คุยสนุกมากเลย  อย่างคุณ Dorothy Parker นักเขียนชาวอเมริกัน    ไม่จำเป็นต้องถามถึงงานเขียน  คุยเรื่องสัพเพเหระอะไรก็ได้  เธอเต็มอกเต็มใจตอบหมด
     สักวันหนึ่งในอนาคตอันไม่นานเกินรอ    อาชีพหลายอาชีพน่าจะไม่เหลืออีกแล้ว
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12612



ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 12 มิ.ย. 24, 16:35

ข้อสังเกตเรื่องเอไอกับการพิมพ์หนังสือ ของ อาจารย์สมภาร พรมทา

วันนี้ผมส่งหนังสือไปที่ Amazon เพื่อจัดพิมพ์ ได้พบความเปลี่ยนแปลงบางอย่างเกี่ยวกับกฎระเบียบ ความเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้คือ เขาจะถามว่า หนังสือที่เราส่งให้เขาพิจารณาจัดพิมพ์ใช้เอไอเขียนเนื้อหา แปลเนื้อหา ทำปก ออกแบบรูปเล่ม และอื่น ๆั หรือไม่ การใช้เอไอจะมากหรือน้อยไม่ใช่ประเด็น ขอให้ตอบว่าใช้เอไอเกี่ยวข้องกับการทำหนังสือหรือไม่  ที่เขาถามเรื่องเอไอเพราะทาง Amazon ถือว่าการใช้เอไอทำให้ผู้ใช้ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ อาจไม่มีสิทธิ์ในการพิมพ์หนังสือนั้นในนามของตน เท่าที่ผมสังเกตจาก  Author Forum (เพจสนทนากันระหว่างนักเขียนของ Amazon) การใช้เอไอเป็นเรื่องที่วงการนักเขียนส่วนใหญ่ไม่ยอมรับ ผมเข้าใจว่า Amazon ก็ไม่ยอมรับ เขาจึงถามว่าใช้หรือไม่

จาก https://www.facebook.com/share/QswihSejGCiB5fxd/?mibextid=WC7FNe
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33635

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 12 มิ.ย. 24, 17:16

    รอดูว่าวงการของไทยจะเคลื่อนไหวในเรื่องนี้บ้างหรือไม่
    ต่อไปถ้า AI ช่วยแต่งเรื่องเข้าส่งประกวดวรรณกรรมไทย    กรรมการจะมีวิธีจับได้หรือไม่
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12612



ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 15 มิ.ย. 24, 09:35

รู้จัก  ChatGpt-4o กันอีกสักนิด

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33635

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 24 มิ.ย. 24, 13:11

อนาคตนักเขียนยังพอมีความหวัง   โฆษณาให้คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ฟรีๆ

ในแต่ละปีเราจะเห็นมหาวิทยาลัยต่างๆ พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนแต่ละสาขาวิชา หรือเปิดหลักสูตรใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอยู่ตลอด อย่างล่าสุด ทางคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้เปิดสาขาวิชาใหม่ หรือเอกใหม่ ที่มีชื่อว่า "สาขาวิชาวรรณกรรมโลกและการเขียนเชิงสร้างสรรค์ (World Literature and Creative Writing)" ซึ่งจะเริ่มรับนิสิตปี 2 ปีการศึกษา 2567 นี้ เป็นปีแรก

เรียนเกี่ยวกับอะไร?
จะได้เรียนเกี่ยวกับ "วรรณกรรมโลก " ทั้งการอ่าน การวิเคราะห์ และการวิจารณ์วรรณกรรมต่างๆ จากทั่วโลก หลากหลายภาษา และหลากหลายวัฒนธรรม ซึ่งสามารถเชื่อมไปสู่ “งานเขียนเชิงสร้างสรรค์” โดยจะได้เรียนรู้เทคนิคต่างๆ จากการเขียนวรรณกรรม ทำให้สามารถผลิตงานเขียนได้หลากหลายรูปแบบ โดดเด่น และเป็นเอกลักษณ์ อีกทั้งยังสามารถสื่อสารกับผู้อ่านจากหลากหลายวัฒนธรรมได้อีกด้วย

   ตัวอย่างรายวิชาที่เปิดสอน
    วิชาวรรณกรรมโลก
    วิชาพื้นฐานการเขียนเชิงสร้างสรรค์
    วิชาโครงงานการเขียนเชิงสร้างสรรค์
    วิชาวรรณคดีกับสิ่งแวดล้อม
    วิชาปริทัศน์อาชญนิยายและภาพยนตร์
    วิชาวรรณคดีกับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์
    วิชาการศึกษาวรรณกรรมอังกฤษเบื้องต้น
    วิชาภูมิหลังทางเทวตำนานและคัมภีร์ไบเบิลในวรรณกรรมอังกฤษ
    วิชาวรรณคดีกับจิตวิทยา
    วิชาการเขียนเชิงสร้างสรรค์อิงเรื่องจริง
    วิชาการเขียนบทสำหรับภาพยนตร์
    วิชาการเขียนบทละคร
    วิชาการแปล วรรณกรรม และวัฒนธรรม

    โอกาสจากการเรียนสาขาวิชานี้
    ทำวารสารวรรณกรรม ทุกขั้นตอน
    ร่วมมือกับองค์กรวิชาชีพทางวรรณกรรม เช่น สำนักพิมพ์
    เสนอผลงานกับค่ายหนัง เช่น  Netflix (ถ้าสนใจการเขียนบทภาพยนตร์ หรือซีรีส์)
   เป็นนักเขียนอาชีพ เขียนงานได้หลากหลายรูปแบบในหลากหลายสื่อ
    ผลักดันงานเขียนนิสิตไปสู่ระดับชาติ และแปลเป็นภาษาอื่นๆ ไปสู่ระดับนานาชาติ

    สำหรับใครที่สนใจหลักสูตรนี้ จะต้องยื่นสมัครเข้าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ แบบไม่ระบุเอก ผ่าน TCAS แต่ละรอบตามปกติ

    ติดตามแผนการศึกษา และข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.dek-d.com/tcas/64713/


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.035 วินาที กับ 19 คำสั่ง